ประวัติและความเป็นมาของคณะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้เปิดสอนระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการศึกษาเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ และได้จัดตั้งคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยได้เปลี่ยนหมวดวิชาต่างๆ เป็นภาควิชา ประกอบด้วย10ภาควิชา 1. ภาควิชานาฏศิลป์และดนตรี 2. ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ 3. ภาควิชาประวัติศาสตร์ 4. ภาควิชาปรัชญาและศาสนา 5. ภาควิชาภาษาไทย 6. ภาควิชาภาษาอังกฤษ 7. ภาควิชาภูมิศาสตร์ 8. ภาควิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ 9. ภาควิชาศิลปศึกษา 10. ภาควิชาสังคมวิทยา   พ.ศ.  2538  ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏเปลี่ยนเป็น  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  เปิดสอนระดับปริญญาตรีสาขาศิลปศาสตร์  แบ่งการบริหารออกเป็น  10  ภาควิชา  และ  1  โปรแกรมวิชา  ได้แก่ 1. ภาควิชานาฏศิลป์และดนตรี 2. ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ 3. ภาควิชาประวัติศาสตร์ 4. ภาควิชาปรัชญาและศาสนา 5. ภาควิชาภาษาไทย 6. ภาควิชาภาษาอังกฤษ 7. ภาควิชาภูมิศาสตร์ 8. ภาควิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ 9. ภาควิชาศิลปศึกษา 10. ภาควิชาสังคมวิทยา 11. โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา พ.ศ.  2542  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ได้จัดการบริหารการเรียนการสอนแบบโปรแกรมวิชา  ประกอบด้วย  8  โปรแกรมวิชา  ดังนี้ 1. โปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน 2. โปรแกรมวิชาดนตรี 3. โปรแกรมวิชานาฏศิลป์ 4. โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ 5. โปรแกรมวิชาภาษาไทย 6. โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ 7. โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ 8. โปรแกรมวิชาศิลปะ นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมบริหารโปรแกรมวิชาในสาขาการศึกษากับคณะครุศาสตร์  ดังนี้ 1. โปรแกรมวิชาศิลปกรรม  (ดนตรี) 2. โปรแกรมวิชาศิลปกรรม  (นาฏศิลป์และการแสดง) 3. โปรแกรมวิชาศิลปกรรม  (ทัศนศิลป์) 4. โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์ 5. โปรแกรมวิชาภาษาไทย 6. โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ 7. โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา   พ.ศ.  2547  ประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ  ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏอุดรธานี  พ.ศ. 2538  บัญญัติให้สถาบันราชภัฏเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ  อาศัยอำนาจตามความ  ในมาตรา  18 (9) และมาตรา  37  วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ  พ.ศ.  2547  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ได้จัดการบริหารการเรียนการสอนแบบโปรแกรมวิชา  ประกอบด้วยโปรแกรมวิชาดังนี้ 1. โปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน 2. โปรแกรมวิชาดนตรี 3. โปรแกรมวิชานาฏศิลป์ 4. โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ 5. โปรแกรมวิชาภาษาไทย 6. โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ 7. โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ 8. โปรแกรมวิชาศิลปกรรม   พ.ศ.  2548  -  พ.ศ.  2554  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ได้จัดการบริหารการเรียน  การสอนแบบสาขาวิชา  มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร  ระดับปริญญาตรี  จำนวน  10  หลักสูตร  ดังนี้ 1. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 2. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาอังกฤษ 3. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ 4. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาการพัฒนาสังคม 5. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ 6. หลักสูตรศิลปบัณฑิต  สาขาวิชาศิลปะการแสดง 7. หลักสูตรศิลปบัณฑิต  สาขาวิชาเทคโนโลยีดนตรี 8. หลักสูตรศิลปบัณฑิต  สาขาวิชาศิลปกรรม 9. หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชานิติศาสตร์ 10. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์   นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมในการบริหารหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต  ร่วมกับคณะครุศาสตร์ ดังนี้ 1. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ 2. สาขาวิชาภาษาไทย 3. สาขาวิชาสังคมศึกษา 4. สาขาวิชาดนตรี 5. สาขาวิชานาฏศิลป์ 6. สาขาวิชาทัศนศิลป์   พ.ศ.  2555  -  ปัจจุบัน  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ได้จัดการบริหารการเรียน  การสอนแบบสาขาวิชา  มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรีตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  (TQF)  จำนวน  18  หลักสูตร  ดังนี้ 1. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาการพัฒนาสังคม 2. หลักสูตรศิลปบัณฑิต  สาขาวิชาดนตรี 3. หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชานิติศาสตร์ 4. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาจีน 5. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 6. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาเวียดนามเพื่อธุรกิจการท่องเที่ยว 7. หลักสูตรศิลปบัณฑิต  สาขาวิชาทัศนศิลป์ 8. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ 9. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาอังกฤษ 10. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ 11. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ 12. หลักสูตรศิลปบัณฑิต  สาขาวิชาศิลปะการแสดง 13. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนา หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษสำหรับผู้พูดภาษาอื่น หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา 18. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา     นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมในการบริหารหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต  ร่วมกับคณะครุศาสตร์  ดังนี้ 1. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ 2. สาขาวิชาภาษาไทย 3. สาขาวิชาสังคมศึกษา 4. สาขาวิชาดนตรีศึกษา 5. สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย 6. สาขาวิชาทัศนศิลป์